Tuesday, September 28, 2010

บทเพลงในวันสอบ Jury ของนักศึกษาสาขาิชาการประพันธ์เพลง ม. รังสิต 1

ยกที่หนึ่งในการสอบ Jury ของภาควิชาการประพันธ์เพลง ของวิทยาลัยดนตรี ม. รังสิต
ในเทอมแรกปีนี้ (2553) คนที่มาแรงในด้านคุณภาพและปริมาณน่าจะเป็น
1. นายไผ่ นันท์พิพัฒน์ วุฒิศักดิ์ (ป. โท)
2. นายต้อง บดินทร์ รัตนศักดิ์ศิริ (ป. โท)
3. นายโจ๊ก โสภณ สุวรรณกิจ (ป. ตรี แจ๊ซ)
4. นายฟิว ชัพวิชญ์ (ป. ตรี การประพันธ์เพลง)
5. นายแคมป์ วันจักรี นวลนิรันดร์ (ป. ตรี การประพันธ์เพลง)
6. นายแวร์ ชรินทร์ (ป. ตรี การประพันธ์เพลง)

คนแรกนายไผ่ เป็นพี่ใหญ่ที่รังสิตนี้เรื่องการประพันธ์เพลง สำเนียงเพลงมีส่วนผสมของแจ๊ซ ป๊อบและแบบ อวองการ์ดเข้าด้วยกัน คนที่สองนายต้อง ผมกำลังจับทางตานี่อยู่เพิ่งมารังสิตปีแรก แต่ดูจากงานแล้ว ท่าจะชอบ George Crumb น่าดู คนที่สามนายโจ๊ก พื้นฐานแจ๊ซดีบวกความขยันและใจเปิดกว้าง เพลงตานี้จะต้องเล่นยากมากแน่ๆ ในอนาคต ต่อมานายฟิว นายฟิว นายฟิว นายฟิว อ้าววววชักจะเหมือนของตานี่แล้ว นายคนนี้วันวันฝันออกมาเป็นเพลงของ John Adams ครับ ต่อมานายแคมป์ ตาคนนี้ข้างในมีเยอะครับ แต่รับงานวุ่นวายไปหมดทำให้ข้างในที่ว่าเยอะ ๆ นั้นกระแทกผ่านลำตัวอวบ ๆ ออกมาได้น้อย แต่ที่ผ่านออกมาก็มีความน่าสนใจทีเดียว สุดท้ายกะเพลงแวนโก๊ะหูขาดของนายแวร์ ก็มีอะไรข้างในเยอะแต่ขาดบางอย่างที่ไม่สามารถบอกได้ในตอนนี้ รอวันสอบก่อนแล้วจะกลับมารายงานครับ

จริง ๆ แล้วก็มีท่านอื่น ๆ อีกมาก แต่เป็นพวกมายังไม่แรงหรือยังไม่มาเลยประกอบด้วย
1. เจเจ เพ็ญพรรณ คนนี้เพิ่งตั้งไข่ แต่โดยความขยันแล้วอาจจะไปได้ดีในอนาคตกาล
2. นายอาร์ม กำลังเรียนกะ อ. เปิ้ล ท่าทางจะไปพอได้แม้จะลาก ๆ ถู ๆ บ้างก็ตาม
3. นายโจ ต้องฝ่าด่านจังหวะโพลกาของตัวเองให้ได้เสียก่อน ถึงจะทำอะไรต่อได้
4. นายอ๊อบ ถือคติคอนเซ็ปต์ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง แต่ลืมไปว่าดนตรีนั้นคือเสียงครับ ดนตรีคือเสียง
5. นายตาล เพิ่งเริ่มเช่นกัน แต่ได้เปรียบตรงที่ประสบการณืผ่านชีวิตนักดนตรีมากนานกว่าน้อง ๆ
6. นายบิ๊ก เฮ้ย....ท่านบิ๊กอยู่ไหน อาจารย์ทุกท่านให้อภัยแล้ว
7. นายโบอิ้ง คนนี้ขยันครับ แต่ยัง...ยังไงไม่รู้ ยังไงจะรายงานให้ทราบอีกครั้งหลังจากสอบละกัน
8. นายสกานต์........เออ ดรอปนี่นา....

จบข่าว

Friday, September 24, 2010

Feldman: Rothko Chapel



Rothko Chapel, written to be played in the famous Houston space, is a wonderful piece, one that should win new converts to the Feldman cause. It isn't daunting in length, like many later Feldman pieces, yet it retains the sonic beauty and delicacy of instrumental color that makes Feldman unique. The piece is also remarkably tonal, unlike many other Feldman works. The gorgeous hushed soprano solo sounds like a distant call to prayer. Feldman talks in the liner notes of the influence of Hebrew cantilation and you can hear it, although it is much more distant than most cantilation. This work is an example of the best kind of ambient music. It is endlessly fascinating, and yet seems to have a physical presence that does not depend on your concentration. You can listen intently or just let the sound wash over you. (a review from Amazon)