Friday, October 22, 2010

การบรรยายเรื่องอัตลักษณ์ทางเสียงดนตรี โดย ณรงค์ปรางเจริญ


Dr. Narong Prangcharoen

Musical Voices
งานมหกรรมการแสดงผลงานการประพันธ์เพลงนานาชาติแห่งประเทศไทย 2553 ณ มหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2553 ได้มีการบรรยายในหัวข้อ “Musical Voices” โดย ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ นักประพันธ์เพลง ซึ่งได้รับรางวัลการประพันธ์เพลงในระดับนานาชาติหลายรางวัล และได้รับรางวัลศิลปาธร จากกระทรวงวัฒนธรรมในปี พ.ศ. 2550 ในการบรรยายครั้งนี้ ดร.ณรงค์ ได้อธิบายถึงเสียงดนตรีที่อยู่ภายในตัวเราแต่ละคนว่ามีที่มาอย่างไร ทำไมดนตรีของแต่ละคนจึงแตกต่างกัน
ดร.ณรงค์ได้เล่าถึงประสบการณ์การศึกษาเรื่องการประพันธ์เพลงว่า ขณะที่ศึกษาอยู่ในประเทศไทย ได้พยายามศึกษาบทประพันธ์ของนักประพันธ์เพลงรุ่นก่อนๆ และได้รับการประสิทธิประสาทวิชาประพันธ์เพลงจาก ดร.ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร ซึ่งถือได้ว่าเป็นนักประพันธ์เพลงคลาสสิครุ่นที่ 2 ของประเทศไทย ดร.ณรงค์จึงเป็นรุ่นที่ 3 และเมื่อไปศึกษาต่อที่ประเทศอเมริกา อาจารย์ได้มีโอกาสอยู่ในสังคมของนักประพันธ์เพลงร่วมสมัย และได้ศึกษาการประพันธ์เพลงกับ Dr.Chen Yi ผู้ซึ่งจุดประกายความคิดในการค้นหาตัวเอง โดยให้ตั้งคำถามถามตัวเองว่าตัวเรามีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร และเสียงดนตรีภายในตัวเราเป็นอย่างไร
ดร.ณรงค์ ค้นพบว่า คนเราตั้งแต่เกิดมาถูกห้อมล้อมด้วยเสียงมากกว่าคำพูด ในช่วงที่เราอยู่ในครรภ์มารดา เราได้ยินหัวใจเต้นของแม่ เสียงระบบไหลเวียนของเลือด ระบบย่อยอาหาร ฯลฯ ช่วงก่อนเรียนรู้ภาษาเราได้ยินเสียงรอบๆตัวเราทั้งที่ตั้งใจฟังและไม่ตั้งใจฟัง เช่น เสียงลม เสียงน้ำ ฯลฯ เสียงที่ห้อมล้อมตัวเราอยู่ตลอดเวลาอาจทำให้เรารู้สึกหรือไม่รู้สึกอะไรบางอย่าง เสียงที่เราได้ยินสามารถสื่อความหมายได้ว่าสร้างอารมณ์แบบไหน สามารถบอกเรื่องราวอะไรบางอย่างกับเรา ซึ่งจะเห็นได้ว่าเสียงหนึ่งๆสามารถบอกอะไรเราได้มากมายหลายอย่าง และเมื่อเอาความรู้สึกต่อเสียงรอบตัวมาประยุกต์ใช้กับดนตรี จะพบว่าเสียงดนตรีก็สามารถสื่อสารอะไรบางอย่างได้เช่นกัน
เสียงดนตรีสามารถแบ่งออกได้หลายรูปแบบ แต่ในมุมมองของ อ.ณรงค์ เสียงดนตรีคือเสียงอะไรก็ได้ที่มีการจัดวางรูปแบบ (organized) ไม่ใช่เสียงทั่วๆไปที่อยู่แวดล้อมรอบตัวเรา (ambient sound) เสียงดนตรีต้องมีความหมายในตัวเอง สามารถสื่อสารกับเราได้ มีความต่อเนื่องของระดับเสียงและจังหวะ และอีกนัยหนึ่งดนตรีอาจหมายถึงภาษา แต่จะเป็นภาษาสากลหรือไม่นั้น ดร.ณรงค์ยังไม่มีข้อสรุป จึงตั้งคำถามให้คิดต่อว่า คนที่ไม่เคยฟังเพลงไทยเดิม เมื่อฟังครั้งแรกแล้วสามารถเข้าใจเพลงไทยเดิมได้หรือไม่ ถ้าดนตรีเป็นภาษาจริงๆดนตรีสามารถถ่ายทอดข้อมูลให้ทุกคนเข้าใจได้หรือไม่ สามารถปลุกเร้าภาพหรือความรู้สึกบางอย่างของคนฟังได้หรือไม่ สามารถบรรยายสถานการณ์หรือเหตุการณ์ต่างๆที่คำพูดคำหนึ่งไม่สามารถอธิยายได้หรือไม่ หรือดนตรีต้องอาศัยประสบการณ์ส่วนตัว ภูมิหลังส่วนตัว และความรู้ส่วนตัวของคนฟังเพลงจึงจะสามารถฟังดนตรีให้เป็นภาษาได้ ถ้าเป็นเช่นนั้น ทำอย่างไรจึงสามารถหาเสียงดนตรีที่เป็นภาษาที่ทุกคนเข้าใจได้
ภาษาที่อยู่บนพื้นฐานของเสียงดนตรีนั้นรวมถึงความเงียบด้วย ต้องสามารถสื่อสารบอกความหมายได้ โดยธรรมชาติแล้วภาษาจะถูกพัฒนาผ่านช่วงเวลา ภาษาจึงแตกต่างกันไปตามกาลเวลา จึงมีคำเรียกว่า ภาษาเก่า ภาษาใหม่ ในดนตรีก็เช่นกัน ดร.ณรงค์ ใช้เวลา 5 ปีในการหาภาษาดนตรีของตัวเองว่าเป็นรูปแบบใด โดยเปรียบเทียบองค์ประกอบที่แตกต่างกันของดนตรีภาษาเก่าและใหม่ และในที่สุดก็ค้นพบว่าสิ่งสำคัญที่สุด คือ ไม่สำคัญว่าเราใช้ภาษาใหม่หรือเก่า แต่สำคัญที่ว่าภาษาที่ใช้สามารถแสดงถึงอัตลักษณ์ คือ สามารถบ่งบอกตัวตนของผู้ประพันธ์เพลงนั้นได้ เช่น เชื้อชาติ  ฯลฯ ต้องสามารถบ่งบอกได้ว่านักประพันธ์แต่ละคนแตกต่างกันอย่างไร มีลักษณะเฉพาะอย่างไร ดร.ณรงค์เองมักถูกตีตราว่าเป็นนักประพันธ์เพลงชาวไทย ถูกคาดหวังความเป็นไทยในบทประพันธ์ แต่จะสร้างความแตกต่างจากนักประพันธ์ชาวไทยคนอื่นๆได้อย่างไร ถ้าใช้วัตถุดิบแบบเดียวกัน และในที่สุดได้ค้นพบว่าต้องเริ่มต้นที่ตัวเอง ต้องรู้จักตัวเอง รู้จักภาษาดนตรีของตัวเอง เพราะนักประพันธ์เพลงแต่ละคนมีรสนิยมในการเลือกไม่เหมือนกัน นั่นคือ มีรสนิยมเฉพาะตัว (personal taste) เป็นของตัวเอง
                เมื่อตอนเด็กๆ ดร.ณรงค์ เคยคิดว่า ต้องเขียนเพลงใหม่ ต้องใช้วัตถุดิบที่ไม่ซ้ำกับของเดิมเท่านั้น แต่เมื่อเริ่มเขียนเพลงเป็นอาชีพ มีข้อจำกัดของเวลา ไม่มีเวลาพอที่จะประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ตลอดเวลา ดังนั้นบทเพลงที่ประพันธ์ออกมาจึงดูเหมือนการนำวัตถุดิบเก่าๆมาใช้ซ้ำ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เป็นการทดลองใช้ของเดิมในรูปแบบใหม่ เป็นการพัฒนาของเดิม หรือสามารถมองได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นการเดินทางบนเสียงดนตรี (musical journey) เป็นเหมือนสมุดไดอารี่ที่บันทึกพัฒนาการทางดนตรี ของเก่าที่นำมาใช้ซ้ำคือเสียงดนตรีที่เราชอบ อยากได้ยิน เช่น การใช้คอร์ด จังหวะ ฯลฯ มันคือรสนิยมเฉพาะตัวของเรา แม้นักประพันธ์เพลงที่ไม่สนใจการสร้างรูปแบบเฉพาะตัว เขียนเพลงได้ทุกรูปแบบ ก็ยังพบว่ามีอะไรคล้ายคลึงกันในเพลงของเขาและนั่นคือรสนิยมเฉพาะตัว            
ดร.ณรงค์ได้กล่าวถึง ปัญหาของนักประพันธ์เพลงเอเชียที่ค้นหาตัวตนของตัวเองไม่พบว่า แบ่งออกเป็น  2 ลักษณะ คือ บทประพันธ์ที่สร้างจากดนตรีพื้นบ้าน และบทประพันธ์แบบ Darmstadt School ที่ชอบใช้ noise   หลายคนอยากเขียนเพลงที่เป็นไทย เป็นเอเชีย แต่ก็อยากเขียนเพลงเหมือนชาวยุโรปที่เราชื่นชอบ อยากใช้เทคนิคแบบรัสเซีย แบบยุโรป ดร.ณรงค์ จึงให้คำแนะนำว่า นักประพันธ์เพลงต้องเชื่อมั่นในตัวเอง ทุกคนอยากเป็นนักประพันธ์เพลงที่ยิ่งใหญ่เป็นที่ชื่นชอบของคนทั้งโลก แต่ในที่สุดเราก็หนีความเป็นตัวเองไม่พ้น ดังนั้นไม่ควรเปลี่ยนตัวเองเพื่อให้คนอื่นชอบ แต่ให้เขาชอบที่เราเป็นเรา เมื่อเราเขียนเพลงที่ไม่จริงใจกับตัวเอง ไม่เป็นตัวของเราเอง จะอยู่ในอาชีพนี้ได้ไม่นาน  คนฟังแล้วไม่ชอบเพลงของเราก็เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ สักวันจะมีคนชอบเอง เพราะฉะนั้นจงฟังเสียงดนตรีของตัวเองให้มากขึ้น  
ดร.ณรงค์ได้อธิบายถึงบทประพันธ์ของอาจารย์เองที่คนไทยหลายคนฟังแล้วไม่รู้สึกว่ามีความเป็นไทย ทั้งนี้เป็นเพราะอาจารย์ไม่ได้ใช้ทำนองเพลงดนตรีพื้นบ้านของไทย หรือบันไดเสียงไทยที่คนไทยคุ้นหู แต่ใช้วัตถุดิบ เช่น สร้างควอร์เตอร์โทนจากบันไดเสียงไทย เพียงเพื่อให้ได้กลิ่นอายของเพลงไทย มีความเป็นเอเชีย ไม่ให้รู้สึกว่าเป็นไทยจนเกินไป จุดสำคัญไม่ได้อยู่ที่คนไทยจำได้ว่าเป็นเพลงไทย แต่คนฟังจำได้ว่าเป็นเพลงของ อ.ณรงค์  ซึ่งใช้เทคนิคแตกต่างจากนักประพันธ์เพลงชาวไทยรุ่นก่อนๆที่นิยมประพันธ์เพลงโดยใช้เพลงไทยใส่คอร์ดแบบตะวันตก นอกจากนี้เทคนิคการผสมผสานวัฒนธรรมทางดนตรี ส่วนหนึ่งมีพื้นฐานมาจากครอบครัวและสังคมไทยที่อาศัยอยู่ท่ามกลางความหลากหลายของวัฒนธรรม อาจารย์จึงภูมิใจว่าบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาไม่ได้แสดงออกแค่เพียงคอร์ดหรือจังหวะที่ใช้ แต่สามารถบ่งบอกได้ถึงรากเหง้าของสังคมที่เติบโตขึ้นมา และบ่งบอกได้ว่ามีปรัชญาอยู่เบื้องหลังความคิด
ในตอนท้ายของการบรรยาย Kee Yong ได้ขอความคิดเห็นและวิธีแก้ไขปัญหาการศึกษาด้านดนตรีของคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่ง ดร.ณรงค์กล่าวว่า มีวัฒนธรรมการศึกษาที่คล้ายคลึงกัน คือ นักเรียนไม่มีความมั่นใจในตัวเอง เพราะอยู่ในระบบที่ต้องเคารพอาจารย์ตลอดเวลา มีอาจารย์คอยแนะแนวทาง ทุกคนฟังอาจารย์อย่างเดียว ไม่กล้าตัดสินใจ ไม่กล้าอยากทำในสิ่งที่เราอยากจะทำ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับนักเรียนที่มีความมั่นใจในตัวเองมากเกินไป ไม่เชื่อฟังคำแนะนำของอาจารย์ ไม่ปรับปรุงข้อบกพร่องของตัวเอง เมื่อใดที่เราคิดว่าเราฉลาดแล้วนั่นคือจุดจบของตัวเอง การที่เราคิดว่าเราโง่เราจะพยายามขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา  ดร.ณรงค์ได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหา คือ ให้แก้ไขที่ตัวอาจารย์ ควรสอนให้เด็กฟังและได้ยินในสิ่งที่ตัวเองอยากเขียน ควรช่วยให้เด็กได้ยินในสิ่งที่อยากได้ยิน เขียนในสิ่งที่ได้ยิน และช่วยให้ทำในสิ่งที่เขาอยากจะทำให้ได้ดีขึ้น เพื่อจะได้เขียนเพลงที่เป็นตัวตนของตัวเอง และที่สำคัญคือ ให้นักเรียนกล้าพูดในสิ่งที่อยากจะพูด กล้าที่จะแสดงว่าเขาไม่เข้าใจโดยไม่สนใจว่าคนอื่นจะมองว่าโง่ก็ตาม
นอกจากนี้ จากประสบการณ์การสอนเรียนในประเทศไทย ดร.ณรงค์พบปัญหาว่า นักเรียนมักทดลองเขียนเพลงตามสมัยนิยมที่ชอบเสียงดนตรีที่ซับซ้อน เพลงที่เขียนออกมาจึงซับซ้อนมากจนเกินไป จนไม่สามารถได้ยินสิ่งที่ตนเองเขียน ไม่สามารถร้องออกมาได้ และไม่สามารถนำไปปฏิบัติจริงให้เสียงออกมาตามที่เขียนได้ คนเขียนเองก็ไม่รู้ว่าที่เขียนเสียงออกมาเป็นอย่างไร ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขด้วยการฝึกร้องสิ่งที่ตนเองเขียนให้ได้ และเขียนในสิ่งที่ตนเองร้องได้
ก่อนจบการบรรยาย ดร.ณรงค์ ได้กล่าวทิ้งท้ายเกี่ยวกับการสร้างอัตลักษณ์ของนักประพันธ์เพลงชาวไทย ว่าการศึกษาดนตรีในเมืองไทยควรจะมีชั้นเรียนที่เรียนเกี่ยวกับดนตรีไทย เพื่อสร้างนักประพันธ์เพลงที่สามารถผสมผสานวัฒนธรรมดนตรีของไทยกับตะวันตกได้ ซึ่งคนไทยโดยทั่วไปมองว่าการสร้างสรรค์ผลงานที่มีกลิ่นอายของความเป็นไทยไม่น่าสนใจ เพราะเราคุ้นเคยกับมันจนไม่รู้สึกว่าน่าตื่นเต้น ไม่เหมือนกับการสร้างสรรค์ผลงานตามรสนิยมตะวันตกซึ่งดูแปลกใหม่ไม่คุ้นเคย แต่เราคนไทยลืมไปว่าไม่มีชาติใดที่สร้างสรรค์ดนตรีแบบไทยๆได้ดีเท่าคนไทยเพราะเป็นวัฒนธรรมที่ถูกหล่อหลอมมาตลอดชีวิต และความเป็นไทยนี่เองควรเป็นพื้นฐานในการค้นหาอัตลักษณ์ของนักประพันธ์เพลงชาวไทยต่อไป
เรียบเรียงโดย สันตินาถ บุญเจือ นักศึกษาระดับปริญญาโท วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต

Saturday, October 9, 2010

Thailand Premiere of Savitri at BACC Auditorium on Nov. 2nd and 3rd

Opera Siam International/Bangkok Opera Foundation
in conjunction with Office of Contemporary Art and Culture
and the Bangkok Art and Culture Center

present

Schubert's
DEATH AND THE MAIDEN
and
Holst's complete opera in one act
SAVITRI

Barbara Zion as Savitri • Antoine Garth as Satyavan
Pitchaya Kemasingki as Death
Women's Chorus of the Siam Orpheus Choir
Shounen-Thai Quartet
Siam Philharmonic Chamber Ensemble
stage director Aramenta Mileski
dramaturge and producer Somtow Sucharitkul
costumes Ubonwan Moonkantha
conductor Nadanai Laohakunakorn

BACC Auditorium, November 2 and November 3 at 7 pm

The story of Savitri, the Indian Queen who defied the God of Death to save her husband's life, is known to every Thai. There's a beautiful adaptation of the story by HM King Rama VI, and Thai students learn the story in school as part of the received traditional of Thai culture. The story has its origins in the Mahabharata.

Gustav Holst, the British composer familiar to everyone for "The Planets", wrote a one-act opera based on this story. His version is an austere, beautiful piece which pares the tale down to its classical essentials, accompanied by a small ensemble.

As part of its ongoing series of chamber operas Opera Siam/Bangkok Opera presents the Thai premiere of this work with a local cast.

In the first half of the double bill, Thailand's youthful Shounen-Thai Quartet performs Schubert's famous Death and the Maiden quartet, another work that plays with the contrast between a beautiful woman and death. One of the most famous of all string quartets, it is a work of high drama and lyricism.

Tickets will shortly go on sale at Thai Ticketmajor Outlets (www.thaiticketmajor.com) for 600 baht (half price for students). In the meantime they can be reserved by calling Ratana at (02) 231-5273 or sending an email to her at ratana@bangkokopera.com.

Monday, October 4, 2010

งานดนตรีสมัยใหม่ที่อินโดนีเซีย มีนักแต่งชาวไทยไปร่วมด้วย

ดูจากชื่อที่เน้นข้างล่าง มีนักแต่งเพลงชาวไทยส่งเพลงไปร่วมงานดนตรีสมัยใหม่ที่อินโดนีเซียสองท่านคือ คุณพีท ศิรเศรษฐ ปันธุรอัมพร และอาจารย์ปู ประดิษฐ์ แสงไกร จากวิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิตยินดีด้วยครับ


Yogyakarta Contemporary Music Festival 2010
Program

Wednesday, October 20, 2010

Opening Concert ( LIP Jl. Sagan 3 )

1. Christanto Hadijaya Atmadja
"Dance of the Clown"
Clarinet : Ivan Aliza
Bass Clarinet in Bb : Jhonysep Singarimbun

2. Neo Nai Wen
"Shade of the Bronze"
Piano : Yuty Lauda

3. Alex Dea
"Part one"
Trio To be Sung

4. Alex Taylor
"[f]at[on]ality"
Piano : Angelica Liviana

5. Julius Catra Henakin
"Oh Motor Cycle???"
Violin : Julius Catra Henakin, Mutiara Pasaribu
Singsout : Julius Catra Henakin

6. Tobias Klein
"Verbo 10" (2004)
Trio To be Sung

7. Joao Pedro Oliveira
"Hokmah"
Clarinet : Jhonysep Singarimbun
Piano : Priskila Eunike Rewah

8. Boudewijn Tarenskeen
"Farewell" (2009)
Trio To be Sung

9. Tony Maryana
"Tanpa Judul" / "Untitled"
Electronic


Tuesday, October 21, 2010

• Seminar at 10.00 - 11.00
Theme : Philosophy on Contemporary Music by T. Adorno
Key Speaker : A. Harsawibawa

• Seminar at 11.30 - 13.00
Theme : Contemporary Music in Iran
Key Speaker : Karen Keyhani
Place : Pasca Sarjana ISI Jl. Suryodiningratan no.8 Yogyakarta

Concert I at 15.00 - 17.00 ( LIP Jl. Sagan 3 )

1. Dwiani Indraningsri
"Black and White"
Marimba 4 tangan : Bangabon

2. Devi Sartika
"Trio P1"
Marimba : Bangabon
Glockenspiel : Bangabon
Vibraphone : Bangabon

3. Krisna Setiawan
"Johann Wird Ohnmaechtig"
Piano : Angelica Liviana

4. Reis Luke Aquino
"UNI (Soundscape)"
Violoncello : Jeremia Kimosabe

5. Diecky K. Indrapraja
"Emulation"
Violin : Kelik Desta
Guitar : Ovan Bagus Jatmika

6. Man-Ching Yu
"Nine Dragons"
Piano : Angelica Liviana

7. Stephen Yip
"Color. Valley"
Violoncello : Ade Sinatra

8. Verita Shalavita Koapaha
"Lancaran Spirit in The Low Notes"

9. Leon de Lorenzo
"The Beginning was the End"
Electronic

Concert II at 19.00 - 21.00 ( LIP Jl. Sagan 3 )

1. Gema Swaratyagita
”Serpih Biru"
Flute : Mei Artanto
Oboe : Nedy Benedictus

2. Austin Yip
"Jin Se"
Soprano : Ika Sri Wahyuningsih
Piano : Ike Kusumawati W.

3. Soe Tjen Marching
"Kala"
Soprano : Ika Sri Wahyuningsih
Violoncello : Eki Satria

4. M. Chozin Mukti
"Rawa Rawa"
Flute : Radhitya Mukti

5. Lee Chie-Tsang
"Sheng Sheng Man"
Violin : Reda Pawoko

6. Woody Satya Darma
"Organisme No. 6"
Guitar Trio : Ovan Bagus Jatmika, Koko Adrianto, Eddo Diaz

7. Juro Kim Feliz
"Sa Kanyang Paglayag (In His Voyage)"
Viola : Dwi Ari Ramlan
Violoncello : Dwipa Hanggana Pratala
Double Bass : Dwipa Hanggana Prabawa

8. Enrique Raxach (1932)
"Chimaera" (1974)
Bass clarinet, Soundtrack : Fie Schouten

9. Patrick Gunawan Hartono
Electronic


Friday, October 22, 2010

Concert I ( LIP Jl. Sagan 3)

1. I Wayan Gde Yudane
"Entering the Stream"
Violin : Dessy Saptani Puri
Violoncello : Dwipa Hanggana Pratala
Piano : Utari Isfandini Yunanti

2. Huey Ching Chong
"Sophisticated Passion"
Violin : M. Januar Affandi .D

3. Matius Shanboone
"Burung"
Clarinet : Iwang Prasiddha Lituhayu

4. Siraseth Pantura-umporn 
"Trio V"
Viola : Dwi Ari Ramlan
Clarinet : Jhoneysep Singarimbun 
Piano : David Boy Nainggolan

5. Motohide Taguchi
"Woven Patterns"
Violin : Julius Catra Henakin

6. Gan Ruo Xian
"Seek"
Amplified Viola : Endra - Piano : Lia Ristiyana Damanik

7. Michael-Thomas Foumai
"Ultra-Violet" Violin : M. Januar Affandi .D

8. Y. Subowo
"Laku Telu"
Rebab : Sunyoto
Erhu : Nuryanto
Violoncello : Hasnan

9. Pradit Saengkarai 
"Digital Soundscape No.1"
Electronic

Closing Concert ( LIP Jl. Sagan 3)

1. Kezhia Bianta Sirait
"Calamity"
Vocal Soprano : Marie-Laure Frinzi
Violoncello : Justitias Jellyta Zulkarnain

2. Karen Keyhani
"His Name Is Man"
Piano 4 tangan : M. Octavia R. Dewi, Ross Carey

3. Ross Carey
"Autumn Thoughts"
Gitar duet : Koko Adrianto, Eddo Diaz

4. Kristyanto Christinus
"Half Round"
Violin : Yohana, Magdalena, Irwan

5. Nilo B. Alcala
"Tell me if this be all true"
Soprano : Marie-Laure Frinzi - Piano : M. Octavia R. Dewi

6. Yii Kah Hoe
"My Spirit is Dancing"
Piano : Yuty Lauda

7. Anne-Marie Turcotte
"Preludio Sopra Una Scala Enigmatica"
Flute : Mei Artanto

8. Chong Kee Yong
"Metamorphosis III"
Piano : Yuty Lauda

9. Jonathan Crehan
"Utopian Reverie"
Violin : Ahmad Ramadan - Piano : M. Octavia R. Dewi

10. MLuM
"Cargaku" Electronic


Free Entrance !!!

YOGYAKARTA CONTEMPORARY MUSIC FESTIVAL 2010
Jl. Ki Mangunsarkoro 55, Yogyakarta 55111, DIY, Indonesia
Telp.: +62.274.523662
Mobile: +62813282 73476
e-mail: ycmf@live.com
Website: http://www.ycmfindonesia.webs.com/

Saturday, October 2, 2010

คอนเสิร์ทของ โจอี้ คาลเดอราซโซ ที่มหาวิทยาลัยรังสิต

ปีนี้วิทยาลัยดนตรีมหาวิทยาลัยรังสิต มีโปรแกรมดีดีมาให้ชมกันนับแต่เริ่มปีการศึกษาเลยที่เดียว นับแต่เมื่อกลางกรกฎาคมกับมหกรรมงานประพันธ์เพลงนานาชาติแห่งประเทศไทยหรือ Thailand International Composition Festival 2010 ซึ่งมีนักประพันธ์เพลงระดับที่เรียกว่า Big Name อย่าง Zou Long (รางวัลแกรมมี), Robert Beaser (รางวัลพูลิตเซอร์) และท่านอื่น ๆ มาร่วมงานกันโดยมีการบรรยายและดนตรีแสดงเป็นเวลาถึง 5 วัน 5 คืนทีเดียว ต่อมาเมื่อเดือนที่แล้วทางวิทยาลัย ฯ ก็ยังได้รับเกียรติจาก Maria Schneider ซึ่งเป็นนักแต่งเพลงระดับ 2 รางวัลแกรมมี ในการมาปรับวงแจ๊ซออร์เคสตราแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต (RSU Jazz Orchestra) โดยการมาของ Maria Scheiner ในครั้งที่ผ่านมานั้นเธอยังได้ร่วมแสดงโดยควบคุมวงจากวิทยาลัยฯ ซึ่งนับเป็นการควบคุมวงในระดับมหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรกในเอเชียอีกด้วย โปรแกรมอันน่าสนใจยิ่งอีกโปรแกรมหนึ่งก็คือคอนเสิร์ทของ Joey Calderazzo Trio ซึ่งนับเป็นวงแจ๊ซทริโอที่กำลังอยู่ในระดับสูงสุดในวงการแจ๊ซในปัจจุบัน
ต่อไปคือส่วนหนึ่งของประวัติความเป็นมาของ Joey Calderazzo

From the time of his emergence with Michael Brecker in 1986 through his recent work in the Branford Marsalis Quartet, and on five previous albums under his own name, Calderazzo has proved to be among the most intense and engaged of contemporary soloists and accompanists. His energy, technique and rapid fire imagination have marked him as one of the most exciting jazz pianists to emerge in the past two decades. Calderazzo has documented this commanding mastery of group interplay on five previous albums that found him matching ideas and passions with such imposing artists as Brecker, Marsalis, Jerry Bergonzi, Jack DeJohnette, Dave Holland, John Patitucci and Jeff “Tain” Watts.

ลองมาดูวิดิโอเพื่อเรียกน้ำย่อยเสียหน่อยที่นี่เลยครับ

คอนเสิร์ทจะมีขึ้นในวันที่ 7 ตุลาคม 2553 เวลา 1 ทุ่มตรง บัตรราคา 800 บาท (สามารถนำบัตรคอนเสิร์ท Maria Schneider มาเป็นส่วนลดเหลือ 300 บาท) ซื้อบัตรได้ที่ Thaiticket Major ครับ

Friday, October 1, 2010

Joseph Haydn's HARMONIEMESSE (1802) by Bangkok Opera

Bangkok Opera • Project Siam Renaissance • Siam Commercial Bank • Ministry of Culture
present

Joseph Haydn's HARMONIEMESSE (1802)

with soloists
Eri Okugawa
Tharawan Bhojhanandh
Allyson Briner
Jak Cholvijarn
Antoine Garth
Saran Senavinin
Siroj Sakudomkaohom

Siam Orpheus Choir
Siam Sinfonietta

conductor Somtow Sucharitkul

Invitational Preview Performance
ABAC Cathedral, Bangna, October 2 at 6 pm
Public Performance
Mahisorn Hall, SCB Park Plaza
October 3 at 6 pm

Haydn's masses are among the greatest glories of choral music in the classical period and the Mass in B flat, composed in 1802 in the twilight of Haydn's life, is a stunning masterpiece, full of fanciful orchestration, rich harmonic color, and inventive touches.  In his final years, Haydn's was never more brilliant.

The Orpheus Choir performed the Thailand premiere of Haydn's Mass in Time of War six years ago and this is another Thailand first.  The Siam Sinfonietta, Thailand's premier youth orchestra, accompanies the Orpheus Choir and seven soloists, all drawn from the local community.  Somtow Sucharitkul will conduct.

A preview performance will take place in the ABAC church, a gorgeous marble miniature of the Basilica in Rome, on Saturday Oct 2.  

The public performance will be on Oct 3 at the Mahisorn Hall.  Mahisorn is easily reached by taking the BTS to Chatuchak and continuing by taxi.  Ask for "SCB Park".  The performance is at 6 pm in order that concertgoers may take advantage of one of the many restaurants in SCB Park for dinner or tea.  This is a wonderful opportunity to hear some rare and beautiful choral music.

Tickets for the public performance will soon go on sale by this weekend at 500 baht (half price for seniors and students).  Contact Thai Ticket Major (02) 262-3456, www.thaiticketmajor.com.  You may also reserve by writing to ratana@bangkokopera.com or calling the Bangkok Opera offices at (02) 231-5273.  Pre-reserved tickets will receive premium seating.

For information about the private premiere, please contact the Bangkok Opera.  
Income from ticket sales all goes to the Bangkok Opera's youth initiatives.